เมนู

อรรถกถาสูตรที่ 7



ประวัติพระคันทกเถระ



ในสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า ภิกฺขุโนวาทกานํ ได้แก่เป็นผู้โอวาทกล่าวสอนภิกษุณี
แท้จริง พระเถระนี้ เมื่อกล่าวธรรมกถา ก็ทำภิกษุณี 500 รูปบรรลุ
พระอรหัต ในการประชุมคราวเดียว เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของ
ภิกษุสาวกผู้สอนภิกษุณี ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่จะกล่าว
ตามลำดับดังนี้
พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระบังเกิด
ในครอบครัว กรุงหงสวดี กำลังฟังธรรมกถาของพระศาสดา เห็น
พระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นยอด
ของภิกษุสาวกผู้โอวาทสอนภิกษุณี จึงกระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป
ปรารถนาตำแหน่งนั้น ท่านทำกุศลจนตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดา
และมนุษย์ ครั้งพุทธุปบาทกาลนี้ ก็ถือปฏิสนธิในครอบครัว ณ กรุง-
สาวัตถี เจริญวัยแล้ว ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาได้ศรัทธา
ก็บวชในสำนักพระศาสดา เจริญวิปัสสนาแล้วบรรลุพระอรหัต เป็นผู้
ช่ำชองชำนาญในบุพเพนิวาสญาณ เมื่อบริษัท 4 มาถึงแล้ว ท่าน
สามารถจับใจของบริษัทได้หมดแล้วกล่าวธรรมกถา เพราะฉะนั้น
ท่านจึงชื่อว่า พระนันทกะธรรมกถึก แม้พระตถาคตแล เมื่อเจ้าหนุ่ม
สากิยะ 500 องค์ ออกบวชจากครอบครัวเพราะเทริด เกิดกระสันจะ
ลาสิกขา ก็ทรงพาภิกษุเจ้าสากิยะเหล่านั้นไปยังสระกุณาละ ทรง

ทราบว่าภิกษุเหล่านั้นสลดใจ เพราะตรัสเรื่องกุณาลชาดก จึงตรัสกถา
ว่าด้วย สัจจะ 4 ให้เธอดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ต่อมา ตรัสมหาสมย-
สูตร ให้เธอบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นผลอันเลิศ ภริยาของพระเถระ
เหล่านั้นมีจิตใจอย่างเดียวกันหมดว่าบัดนี้เราจะทำอะไรในที่นี้ จึงพากัน
เข้าไปหาพระมหาปชาบดีเถรี ขอบรรพชา ภริยาทั้ง 500 ได้บรรพชา
อุปสมบทในสำนักพระเถรีแล้ว แต่ในชาติต่อจากอดีต ภริยาทั้งหมด
ได้เป็นบาทบริจาริกาของท่านพระนันทกะเถระ เมื่อดำรงอยู่ในอัตต-
ภาพเป็นพระราชา สมัยนั้น พระศาสดาตรัสสั่งว่าพวกภิกษุจงสอน
พวกภิกษุณี พระเถระ เมื่อถึงวาระ (เวน) ก็รู้ว่าภิกษุณีเหล่านั้นเป็น
บาทบริจาริกาของตนในภพก่อน จึงคิดว่า ภิกษุผู้ได้บุพเพนิวาสญาณ
เห็นเรากำลังนั่งกลางภิกษุณีสงฆ์ ชักอุปมาละเหตุเป็นต้นมากล่าว
ธรรม ตรวจดูเหตุอันนี้แล้ว จะพึงพูดเคาะว่า ท่านนันทกะไม่ยอมสละ
เหล่าสนมจนทุกวันนี้ ท่านมีเหล่าสนมห้อมล้อม ช่างสง่างาม เพราะ
เหตุนั้น ท่านจึงไม่ไปเอง ส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน แต่ภิกษุณีทั้ง 500 รูป
นั้น จำนงหวังเฉพาะโอวาทของพระเถระ ด้วยเหตุนี้ เมื่อถึงวาระของท่าน
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงส่งภิกษุรูปอื่นไปแทน ตรัสกะพระ
ว่าเธอจงไปเอง สอนภิกษุณีสงฆ์ ท่านไม่อาจคัดค้านพระดำรัสของ
พระศาสดาได้ เมื่อถึงวาระของตน จึงให้โอวาทภิกษุณีสงฆ์วัน 14 ค่ำ
ให้ภิกษุณีเหล่านั้นทุกรูป ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล ด้วยธรรมเทศนา
อันประดับด้วย สฬายตนะ (อายตนะ 6) ภิกษุณีเหล่านั้น ชื่นใจต่อ
ธรรมเทศนาของพระเถระ พากันไปสำนักพระศาสดา ทูลบอกคุณที่
ตนได้ พระศาสดาทรงนึกว่า ใครหนอแสดงธรรม ภิกษุณีเหล่านี้จึงจะ
พึงบรรลุมรรคผลชั้นสูง ๆ ทรงเห็นว่า ภิกษุณีทั้ง 500 นั้น ฟังธรรม

เทศนาของนันทกะอีก ก็จักบรรลุพระอรหัต วันรุ่งขึ้น จึงทรงส่งภิกษุณี
เหล่านั้นไป เพื่อฟังธรรมเทศนาในสำนักพระเถระผู้เดียว วันรุ่งขึ้น
ภิกษุณีเหล่านั้นฟังธรรมแล้วก็บรรลุพระอรหัตทั้งหมด วันนั้น เวลา
ที่ภิกษุณีเหล่านั้นมาเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่า ธรรมเทศนา
มีผล จึงตรัสว่า เมื่อวันวาน ธรรมเทศนาของนันทกะ เป็นเสมือน
พระจันทร์ 14 ค่ำ วันนี้เป็นเสมือนพระจันทร์ 15 ค่ำ แล้วทรงทำเหตุ
นั้นนั่นแล ให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงสถาปนาพระเถระ
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้โอวาทสอน
ภิกษุณีแล.

จบ อรรถกถาสูตรที่ 7

อรรถกถาสูตรที่ 8



ประวัติพระนันทเถระ



ในสูตรที่ 8 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ด้วยบทว่า อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวารานํ ท่านแสดงว่า ท่านพระ-
นันทเถระ เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ 6.
ความจริง พระสาวกทั้งหลายของพระศาสดา ชื่อว่าไม่คุ้มครองทวาร
ไม่มีก็จริง ถึงอย่างนั้น ท่านพระนันทเถระ ต้องการจะมองทิศใด ๆ
ในทิศทั้ง 10 ก็มิใช่มองทิศนั้น ๆ อย่างปราศจากสติสัมปชัญญะ
เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชื่อว่าเป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครอง
ทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ในปัญหากรรมของท่าน มีเรื่องที่กล่าวตาม
ลำดับ ดังนี้
พระเถระรูปนี้ ครั้งพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตตระ ถือ
ปฏิสนธิในครอบครัว กรุงหงสวดี เจริญวัยแล้ว กำลังฟังธรรมในสำนัก
พระศาสดา เห็นพระศาสดาสถาปนาภิกษุรูปหนึ่งไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะ
เป็นยอดของเหล่าภิกษุสาวกผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย จึง
กระทำกุศลให้ยิ่งยวดขึ้นไป ปรารถนาตำแหน่งนั้น. ท่านทำกุศลจน
ตลอดชีวิต เวียนว่ายอยู่ในเทวดาและมนุษย์ ถือปฏิสนธิในพระครรภ์
ของพระมหาปชาบดีโคตมี กรุงกบิลพัศดุ. ครั้งนั้น ในวันรับพระนาม
ท่านทำหมู่พระประยูรญาติให้ร่าเริงยินดี เพราะเหตุนั้น เหล่าพระ-
ประยูรญาติ จึงขนานพระนามของท่านว่า นันทกุมาร. แม้พระมหา-
สัตว์ ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้วประกาศพระธรรมจักร